วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

smt.co.th -- ต้นทุนพลังงานไฟฟ้า




ผลกระทบต่อต้นทุน (Cost)
  1. ปัจจัยที่มีผลต่อราคาและต้นทุนไฟฟ้า
  2. ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า (Production Cost) โดยไม่นำต้นทุนทางสุขภาพ ต้นทุนด้า่นสังคมและสิ่งแวดล้อมมาคิด
  3. การคิดต้นทุน โดยนำต้นทุนทางด้านสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อมมาคิดคำนวณด้วย
  4. การคำนวณทางเศรษฐศาสตร์ การตีค่าเป็นตัวเงินจากการลดระดับโอโซนในบรรยากาศ
 
เกริ่นนำ
           จากข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน พบว่ามูลค่าการใช้พลังงานขั้นสุดท้่ายของประเทศในปี 2550 เท่ากับ 1.5 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่ากับร้อยละ 17.6  ของ GDP  โดยร้อยละ 63 เป็นมูลค่าการใช้น้ำมันสำเร็จรูป  ร้อยละ 26 เป็นมูลค่าการใช้ไฟฟ้า และที่เหลือร้อยละ 15 เป็นมูลค่าการใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานทดแทน ประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้านอกจากจะใช้เพื่ออำนวยความสะดวก สำหรับบ้านเรือน แล้วยังใช้ในระบบเศรษฐกิจเพื่อการผลิตและการบริการ   จากข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนพลังงานพบว่า การใช้ไฟฟ้า่ของครัวเรือนเท่ากับร้อยละ 20  การใช้ไฟฟ้าเืพื่อการเกษตรเท่ากับร้อยละ 10 ที่เหลือร้อยละ 70 ใช้ไฟฟ้าเพื่อการอุตสาหกรรมและธุรกิจ   ต้นทุนพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นภาระของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคบ้านเรือน ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ   และราคาพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นราคาของน้ำมัน  ก๊าซ หรือค่าไฟฟ้า จึงเป็นประเด็นทางการเมืองในทุกรัฐบาล เพราะถ้าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด  ก็จะทำให้ราคาสูงขึ้น  ซึ่งจะกระทบทั้งภาคครัวเรือนและธุรกิจ  อีกทั้งกระทบฐานเสียง  แต่ถ้ารัฐจะอุดหนุนก็จะเกิดปัญหาว่าจะนำเงินที่ไหนมาเป็นกองทุน  และการเข้าไปอุดหนุนจะทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกราคา  ทำให้การใช้พลังงานไม่ลดลงและไม่เกิดความประหยัด          กล่าวโดยสรุป ทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น   และราคาพลังงานเป็นประเด็นทางการเมืองมาตลอดของประเทศ  จนบางครั้งการกำหนดราคาไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง  ประเด็นในเรื่องต้นทุนจึงเป็นเรื่องที่อ่อนไหว  และลดความสำคัญของต้นทุนทางสุขภาพและต้นทุนทางสังคมลงไป
ระบบการรับซื้อไฟฟ้าของ กฟผ.จากผู้ผลิตไฟฟ้า
       การรับซื้อไฟฟ้่าของประเทศไทยจะใช้ระบบ Enhance Single Buyer (ESB) โดย กฟผ.จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียวจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าประเภทต่างๆ  ซึ่ง กฟผ.ก็ถือเป็นผู้ผลิตด้วย  และยังมีบริษัทลูกของ กฟผ. (RATCH และ ECHO)  ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่หรือ IPP ผู้ผลิตไฟฟ้่ารายเล็กหรือ SPP ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก หรือ VSPP   เนื่องจากการลงทุนโรงไฟฟ้านั้นมีต้นทุนสูง  การจะจูงใจให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเข้าร่วม  จึงมีความจำเป็นต้องใช้การทำสัญญาว่า ผู้ผลิตจะส่งมอบไฟฟ้าตามปริมาณที่ตกลงกันไว้  และ กฟผ.จะรับซื้อไฟฟ้าตามจำนวนและในราคาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญา   โดยราคาที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
  1. ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment : AP) กำหนดจากต้นทุน ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ของเอกชน และค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆ (Fixed Cost)  ซึ่งค่าความพร้อมจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย ไม่ว่า กฟผ. จะมีการสั่งเดินเครื่อง จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนหรือไม่ เนื่องจาก IPP จะต้องเตรียมความพร้อมของ โรงไฟฟ้าให้พร้อม ที่จะจ่ายไฟได้ตลอดเวลา เมื่อ กฟผ. สั่งเดินเครื่อง ซึ่งในกรณีที่เป็นโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เอง แม้ว่าโรงไฟฟ้าจะไม่เดินเครื่อง กฟผ. ก็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย เงินต้น และค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆ เช่นกัน แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้รวมอยู่ในค่าไฟฟ้าฐาน ที่เรียกเก็บกับประชาชนแล้ว ดังนั้น การจ่ายค่าความพร้อมจ่าย จึงอยู่บนหลักการเดียวกัน
  2. ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) กำหนดจากค่าเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายผันแปรอื่นๆ ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายเข้าระบบของ กฟผ.
หมายเหตุ  ประเด็นในเรื่องค่าความพร้อมจ่าย ว่ามีส่วนดีส่วนเสียอย่างไร  Link ได้ที่น
ราคาค่าไฟฟ้า 
        ไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภค  ที่ทางรัฐควบคุมราคา   การกำหนดราคาจะมีคณะกรรมการขึ้นมาดูแล  โดยจะมีการประชุม 4 เดือนครั้ง ซึ่งโครงสร้างราคาของไฟฟ้่าต่อหน่วยจะประกอบด้วย 2 ค่า คือ
  1. ค่าไฟฟ้าฐาน * คือส่วนที่ไม่แปรผันตามต้นทุนการผลิต  เช่นต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า หรือค่าใช้จ่าอื่นๆที่แปรผันตามต้่นทุนการผลิต ปัจจุบัน ค่าไฟฟ้าฐานจะประมาณ 2.25 บาท
  2. ส่วนที่แปรผันตามต้นทุนการผลิต  เช่นการเปลี่ยนแปลงของราคาพลังงาน ถ้าเชื้อเพลิงราคาสูงขึ้น คณะกรรมการก็จะประกาศค่า FT สูงขึ้น  แต่ถ้าราคาเชื้อเพลิงลดลง  ค่า FT ก็จะลดลง   ที่ประชุมของคณะกรรมการเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2551 มีมติให้ปรับค่า FT ขึ้นจากเดิม 2.75 ส.ต. เป็น 68.86 ส.ต.
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม  การซื้อขายต่างๆ จะต้องเสียมูลค่าเิ่พิ่ม  รวมถึงค่าไฟฟ้าด้วย เมื่อรวมราคาค่าไฟฟ้าฐาน และค่า FT คูณกับจำนวนหน่วยที่่ใช้แล้ว  ก็จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเป็นราคาที่เรียกเก็บจากประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
หมายเหตุ  ค่าไฟฟ้าฐาน ของแต่ละครัวเรือน นั้นจะไม่เท่ากัน ตัวเลข 2.25 บาทเป็นตัวเลขเฉลี่ย เนื่องจาก กฟภ.และ กฟน.ได้แบ่งประเภทครัวเรือนออกเป็นประเภทต่างๆ ตามความมากน้อยของการใช้ไฟฟ้า ทำให้มีค่าไฟฟ้าฐานที่แตกต่างกันบ้าง
ผลของระบบการรับซื้อไฟฟ้าและการกำหนดราคาไฟฟ้า 
  1. เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็น  และความมั่นคงของพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็น  อีกทั้งการลงทุนด้านไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายสูง การที่จะให้เิกิดความมั่นคงของพลังงานได้  จำเป็นต้องมีมาตรการจูงใจผู้ขายไฟฟ้า ซึ่งวิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน คือจ่ายค่าพร้อมจ่าย  ซึ่งข้อดี คือสามารถจูงใจผู้ผลิตไฟฟ้าให้เข้ามา แต่มีข้อเสียคือ กรณีที่คำนวณความต้องการไฟฟ้าผิดพลาด  ถ้าโรงไฟฟ้าพร้อมจ่าย กฟผ.ก็ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่ายให้แม้จะไ่ม่ได้ทำการผลิตก็ตาม ซึ่งต้นทุนส่วนนี้ก็จะไปอยู่กับค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องเป็นผู้จ่าย
  2. การขึ้นค่าไฟฟ้า จะกระทบทุกภาคส่วน โดยภาคครัวเรือนก็จะทำให้ประชาชนเดือนร้อนจากค่าครองชีพสูงขึ้น  ภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ก็จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน  ในหลายครั้งการขึ้นค่าไฟฟ้าจึงเป็นประเด็นการเมือง ซึ่งราคาค่าไฟฟ้าไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลจากเรื่องต้นทุนอย่างเดียว  การที่ค่าไฟฟ้าไม่สามารถปรับขึ้นได้  จึงนำไปสู่การบริหารจัดการเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ  ซึ่งในการผลิตไฟฟ้าันั้น ต้นทุน 60-70 % คือค่าเชื้อเพลิง   จึงจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงที่มีต้นทุนต่ำแต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง เช่นถ่านหิน และทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ซึ่งมีต้นทุนสูงแต่กระทบสิ่งแวดล้อมต่ำไม่สามารถแข่งขันได้

ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า (Production Cost)  
จาก power point นโยบายการกำกับพลังงาน จากมุมมองของค่าไฟฟ้า โดด ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน
        ค่าไฟฟ้่าที่ประชาชนจ่ายนั้น จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเรียกว่าค่าไฟฟ้าฐาน ปัจจุบันเก็บที 2.25 บาท ต่อ หน่วย อีกค่าเรียกว่าค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า FT ค่านี้จะมีการประชุมคณะกรรมการทุก 4 เดือน เพื่อพิจารณาปรับขึ้นหรือลด แล้วแต่ต้นทุนพลังงาน ซึ่งที่ประชุมในเดือน ก.พ. 51  มีมติให้ปรับขึ้นจากเดิม 2.75 ส.ต. เป็น 68.86 ส.ต. เนื่องจากต้นทุนของพลังงานเพิ่มขึ้น เมื่อรวมค่าไฟฟ้าฐาน 2.25 บาท กับค่า FT 68.86 ส.ต. แล้ว ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยในปัจจุบันจึงเท่ากับ 2.94 บาท  ซึ่งเป็นราคา่ที่ผู้บริโภคจ่าย   ในปี 2550 ยอดการใช้ไฟฟ้าของทั้งประเทศ เท่ากับ 133,102 กิกะวัตต์ ชั่วโมง (Gwh)  (1 กิกะ หรือ 1 G = 10 ยกกำลัง 9 ไฟฟ้่า 1 หน่วย เท่ากับ 1 Kwh เพราะฉะนั้น 1 Gwh = 1 ล้าน Kwh  หรือ 1 ล้านหน่วย )       เพื่อปรับให้เป็นตัวเลขกลมๆ จึงขอใช้ตัวเลขของปี 2549  ซึงยอดการใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 125,000 Ghw หรือเท่ากับ  125,000 ล้าน Kwh (หน่วย) และค่าไฟฟ้าเท่ากับ 3 บาทต่อหน่วย  เพราะฉะนั้นมูลค่าการใช้ไฟฟ้าในปี 2549 เท่ากับ 375,000 ล้านบาท
ประเภทของเชื้อเพลิง
มูลค่า (ล้านบาท) *
บาท/หน่วย ( Kwh )**
บาท/หน่วย (สะสม)
เชื้อเพลิง (ปตท. กฟผ.ลิกไนต์ บ้านปู ถ่านหิน)
202,500
1.62
1.62
การผลิต (กฟผ./บริษัทลูก กฟผ./IPP/SPP/นำเข้า
90,000
0.72
2.34
การส่งไฟฟ้า (กฟผ.)
26,250
0.21
2.55
การจำหน่าย (กฟน/กฟภ)
56,250
0.45
3.00
รวม
375,000
3.00
 
หมายเหตุี้
  1. *    คำนวณมูลค่า จาก ร้อยละ * 375,000 ล้านบาท
  2. ** ตำนวณ บาท/หน่วย โดยนำมูลค่าหารด้วย จำนวนหน่วยทั้งหมด ซึ่่งเท่ากับ 125,000 ล้านหน่วย

เมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้่านต้นทุน    สามารถสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
  1. ปัจจุบันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 70 จะใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง  และต้นทุนการผลิตทั้งหมดในปี 2549 = ค่าเชื้อเพลิง + ต้นทุนอื่นๆ รวมกำไรขั้นต้น = 2.34 บาท ต่อหน่วย เป็นค่าเชื้อเพลิง 1.62 บาท/หน่่วย หรือค่าเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 69.2 ของต้นทุนทั้งหมด
  2. ถ้าใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ร้อยละของต้นทุนเชื้อเพลิง จะไม่ถึงร้อยละ 60 ทำให้ประหยัดต้นทุนกว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน หรือพลังงานทดแทนที่ไม่ใช่พล้งน้ำ  ถ้่าประมาณการว่า ถ้าใข้เชื้อเพลิงเป็นถ่านหิน ต้นทุนเท่ากับร้อยละ 60%  ต้นทุนเชื้อเพลิงเท่ากับ 1.08 บาทต่อหน่วย รวมต้นทุนการผลิต 0.72 บาท เป็น 1.80 บาท ต่อ หน่วย  ซึ่งในปี 2550  โรงไฟฟ้าถ่านหิน ของ BLCP ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ได้เข้าระบบ  ทำให้ต้นทุนรวมของระบบลดลง 
  3. ปัจจุบันน้ำมันสูงขึ้นอย่างมาก  ราคาน้ำมันดีเซลราคาขึ้นไปถึง 100  US ต่อบาเรล  น้ำมันเตาประมาณ 70 US ต่อบาเรล การใช้น้ำมันเตาเพื่อเป็นเชื้อเพลิงนอกจากต้นทุนจะสูงแล้ว  ยังสร้่างมลพิษที่สูงกว่าก๊าซธรรมชาติ
  4. ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะเป็๋นเชื้อเพลิงสะอาดและต้นทุนต่ำที่สุด  โดยต้นทุนจะต่ำกว่าการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง  ซึ่งแผน PDP 2007 กฟผ.วางแผนที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้ามาสู่ระบบ ขนาด 1,000 MW จำนวน 4 โรง  โดยเริ่มเข้าระบบในปี 2563  จากการให้สัมภาษณ์ของนายไกรสีห์ กรรณสูต อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวผ่านรายการ Morning Brief ว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีต้นทุนต่ำที่สุดคือ 2.08 สต./หน่วย รองลงมาคือโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2.12 สต./หน่วย และต้นทุนที่สูงที่สุดคือโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 2.29 สต./หน่วย  แม้จะไม่ทราบว่าหน่วยในที่นี้คืออะไร แต่่เมื่อใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นฐาน ต้นทุนเมื่อใช้ถ่านหินจะต่ำกว่า ก๊าซธรรมชาติ ร้่อยละ 8  และต้นทุนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติร้อยละ 10
  5. เมื่อพิจารณาในเรื่องความประหยัดเชิงขนาด (Economy of Scale)  โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ น่าจะมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น SPP หรือ VSPP หรือโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน เืนื่องจากสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Share Fixed cost)   โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนนั้นต้นทุนต่อหน่วย น่าจะเกิน 2.50 บาทขึ้นไป
หมายเหตุ  การพิจารณาต้นทุนดังกล่าว  ไม่ได้นำต้นทุนด้านสุขภาพ และต้นทุนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมาคิด

การพิจารณาต้นทุนโดยนำต้นทุนทางสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อมมาพิจารณาด้วย
          การคิดต้นทุนในประเทศไทย  เราคิดเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวกับการผลิต สายส่ง และต้นทุนการขายไฟฟ้า  โดยยังไม่ได้รวมต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ต้นทุนทางสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อมเข้ามาคิดเพื่อเป็นต้นทุนทั้งหมด  และในปัจจุบันได้มีการตั้งกองทุนเพื่อไปช่วยเหลือชุมชนรอบโรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากโรงไฟฟ้า  โดยโีรงไฟฟ้าต้องส่งเงินเข้ากองทุนขึ้นกับประเภทของโรงไฟฟ้า เช่นโรงไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษมากเช่นถ่านหิน ต้องส่งเข้ากองทุนมากว่าโรงไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษต่ำเช่นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ และโรงไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยมลพิษเช่นโรงไฟฟ้่าพลังงานน้ำไม่ต้องหักเงินเข้ากองทุน    แต่ในอนาคต  ถ้าระบบข้อมูลมีความสมบูรณ์ อาจจะนำผลกระทบทางด้านสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมมาคำนวณต้นทุนรวมได้ เช่น
  1. ถ้าค่าโอโซนเพิ่มขึ้น 11.5 ppb  ความเสี่ยงที่จะเข้ารักษาตัวใน ร.พ.จะเพิ่มขึ้น โดย Relative Risk (RR) =1.059 
  2. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝนกรด  ซึ่งจะมีผลทั้งมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ไ่ม่ว่าจะเป็น แม่นำลำคลอง ทะเสสาป  ดิน และบรรฯยากาศ เป็นกรดมากขึ้น   และการตกตะกอนของสารกรดในอากาศ  สามารถถูกลมพาไปได้ไกลเป็นร้อยกิโลเมตร  หรือเรียกว่าเป็นมลพิษไร้พรมแดน  บรรยากาศที่เป็นกรดส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตมากมาย ทั้งพื้ชและสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ  ทั้งป่่าไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง  ส่วนนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อหาต้นทุนว่าเป็นเท่าไร

 

1 ความคิดเห็น:

  1. 1.แผงเซลล์แสงอาทิตย์ PV มีกี่ชนิดอะไรบ้าง
    -แบบ อะมอร์ฟัส(Amorphous)หรือ ฟิลม์บาง(Thinfilm ) เป็นแผงชนิดเดียวกับที่อยู่ภายในเครื่องคิดเลข สีน้ำตาล แผงชนิดนี้ราคาถูก สามารถให้ไฟฟ้าออกได้แม้ แส แดดน้อย แต่แผงจะใหญ่ น้ำหนักมาก
    -แบบ ผลึกรวม (Multi Polycrystalline ) แผงชนิดนี้เป็นแผงที่มีการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน ให้กระแสไฟฟ้าออกได้ดีในช่วงที่มีแดดเข้ม แผงเล็ก และน้ำหนักเบากว่า
    -แบบ ผลึกเดี่ยว ( Single polycrystalline ) เป็นแผงที่ให้ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฟ้าดีที่สุด ในทั้ง 3 แบบเปรัยบเทียบพื้นที่รับแสงที่เท่ากัน แผงเล็กที่สุด แต่ราคาก็จะสูงที่สุด
    2.เปรียบเทียบประสิทธิภาพ Solarcell แต่ละแบบ
    -แผงแบบ ผลึกเดี่ยว( Single polycrystalline)ประสิทธิภาพ ดีที่สุด รองลงมาคือ ผลึกรวม(Multi Polycrystalline) และ แบบ อะมอร์ฟัส (Thin film )
    3.ในเมื่อแผงแบบ Thin film มีการแปลงประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบ Polycrystalline ดังนั้นแผงแบบ Thin film 100W ไฟฟ้าจะออกได้น้อยกว่าแผงแบบ Poly 100W ไช่หรือไม่
    -ไม่ไช่ แผงแบบ Thinfilm 100W ก็จะถูกผลิตมาให้ไฟฟ้าออก 100W เช่นเดียวกับแผงแบบ Poly เพียงแต่จะมีพื้นที่แผงใหญ่กว่าแผงแบบ Poly เพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าเท่ากัน
    4.การเรียกขนาดของแผงเช่น 100W หมายถึงอะไร
    -หมายถึง กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้สูงสุดของแผง Solarcell ซึ่งจะไม่มากกว่านั้นไม่ว่าแสงนั้นจะมีความเข้มมากเท่าไดก็ตาม
    5.แผง PV เช่นขนาด 100W รับแสงแดดนั้นจะผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 100W ทั้งวันไช่หรือไม่
    '-ไม่ไช่ ตอนเช้าแสงแดดยังไม่เข้มเพียงพอ แผงโซล่าเซล อาจจะมีไฟฟ้าออกแค่ 50W พอช่วงสายอาจจะเพิ่มเป็น 80W และอาจจะเป็น 100W ในช่วง 10:00-14:00
    6.การเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซล เช่นต้องการ 1,000W แต่มีแผงขนาด 100W จะสามารถทำได้อย่างไร
    -การเพิ่มกำลังของแผงโซลาร์เซลล์ ก็คือการนำแผงมาต่อกันเพื่อเพิ่มกำลังไฟฟ้านั่นเอง ถ้าต้องการ 1,000W ก็จะต้องใช้แผง Solarcell 100W จำนวน 10แผง
    7.การเลือกใช้เครื่องควบคุมการประจุไฟฟ้า Solar charge controller มีหลักอย่าไร
    -แรงดันเข้าของ Solar charge controller จะต้องสามารถรับแรงดันไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลได้ เช่นถ้าใช้แผงแบบ Poly ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าใช้งาน 17V เครื่องควบคุมการประจุไฟฟ้า ก็ต้องสามารถใช้งานกับแรงดันนี้ได้
    -แรงดันชาร์จแบตเตอรี่ของ Solar charge controller จะต้องเท่ากับแรงดันแบตเตอรี่ที่จะชาร์จ เช่น ต้องการนำไปชาร์จแบต 12V เครื่องควบคุมการประจุไฟฟ้าก็จะต้องใช้ชาร์จแบต 12V ได้
    -เครื่องควบคุมประจุไฟฟ้า จะต้องสามารถทนกระแสชาร์จได้มากกว่า กระแสของแผงโซล่าเซล เช่น แผงโซล่าเซลมีกระแสไฟฟ้าสูงสุด 10A ดังนั้น Solar charge controller จะต้องทนกระแสได้มากกว่า 10A เป็นอย่างต่ำ
    8.การเลือกใช้งาน Inverter เลือกอย่างไร
    -การเลือกใช้งาน Inverter ดูที่กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานสูงสุด เป็นสำคัญ เช่นมี TV กินไฟฟ้า 150W มีหลอดไฟฟ้ากินไฟฟ้า 40W จำนวน 2 หลอด ถ้าเปิดใช้งานพร้อมกันจะกินไฟฟ้ารวมเท่ากับ (150x1) + (40x2) = 230W กรณีนี้จะต้องซื้ออินเวอร์เตอร์ที่มีกำลังมากกว่า 230W เช่น อินเวอร์เตอร์ขนาด 300W แต่ถ้าหากโอกาสที่จะเปิดทั้ง TV และหลอดไฟฟ้าไม่ได้เปิดพร้อมกัน ก็ให้เราดูที่กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟฟ้าสูงสุดคือ TV 150W กรณีนี้เราสามารถซื้อ Inverter ขนาดมากกว่า 150W ก็ได้


    ที่มา http://www.techtron.co.th/Question.htm

    ตอบลบ